ขัวหลวงรัษฎา สะพานคู่แม่น้ำวัง

 

สะพานรัษฎาภิเศก (คำเมืองLN-Khua Ratsada.png) หรือ สะพานขาว หรือคนเมืองเรียกว่า ขัว คือ สะพาน เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง เดิมเป็นสะพานโครงสร้างไม้ ที่เจ้าผู้ครองนครลำปาง และชาวจังหวัดลำปางสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 ในโอกาสที่พระองค์ครองราชย์ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ. 2437

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ได้ทาสีพรางตาและด้วยการอ้างว่าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ จึงรอดจากโจมตีทิ้งระเบิดมาได้ หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2460 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก บริเวณสะพานมีเครื่องหมายไก่ขาว และครุฑหลวงประดับไว้ตรงหัวสะพาน

สะพานรัษฎาภิเศกภิเษกยังทำหน้าที่สัญลักษณ์ของเมืองลำปาง ในฐานะของ “ขัวสี่โก๊ง(สะพานสี่โค้ง)” “ขัวหลวง (สะพานใหญ่)” “ขัวขาว (สะพานขาว)”

ทุกปีจะมีการจัดงานรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก โดยปีนี้จัดระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๗ มีนาคม ในโอากาสขัวหลวงรัษฎาอายุครบ ๑๐๕ ปี พบกับนิทรรศการประวัติศาสตร์ เล่าเรื่องสะพานรัษฎาภิเศก ผ่านการจำลองวิถีชีวิต ภาพถ่ายสะพานรัษฎาภิเศกในอดีต มุมถ่ายภาพย้อนยุค กิจกรรมสาธิตงานประดิษฐ์ เพลิดเพลินกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนและอาหารท้องถิ่น ณ กองฮิมวัง

🔸วันศุกร์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๕
๑๐.๐๐ น. กิจกรรมประกวดวาดภาพ “เสน่ห์ขัวหลวง”
๑๖.๐๐ น. กรรมการตัดสินภาพวาดและเปิดโหวตภาพที่ประชาชนถูกใจ
๑๗.๓๐ น. การแสดงดนตรีร่วมสมัย

🔸วันเสาร์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๕
๐๗.๐๐ น. พิธีทำบุญตักบาตรบนสะพานรัษฎาภิเศก
๐๘.๓๐ น. พิธีเปิดงาน “ขัวหลวงรัษฎา ๑๐๕ ปี” และมอบรางวัลประกวดภาพวาดและประกวดรีวิว
๑๘.๓๐ น. กิจกรรมเสวนา “เล่าเรื่องขัวหลวงรัษฎา”

🔸วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๕
๑๘.๐๐ น. การแสดงดนตรีเพลงแจ๊สยุคเก่า

✅จัดภายใต้มาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิถีชีวิตชาวตรัง ..ที่ไม่เคยห่างหาย